วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เวลาเรียน08.30-12.30น.
เนื้อหาที่เรียน
ศึกษาดูงานที่โรงเรียนกระเกษมพิทยา
ประวัติโรงเรียนเกษมพิทยา : โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา
ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรวมของเด็กในแต่ละห้อง
ดิฉันได้ศึกษาดู ห้อง อนุบาลปีที่ 3/1 ครูประจำชั้นคุณครูนก
ดิฉันสังเกตพฤติกรรม ชื่อ น้องไกด์
กลุ่มอาการ : ไฮเปอร์
ขณะที่สังเกต เป็นช่วงเวลาที่สรุปโครงการProject Approach
พฤติกรรมที่สังเกตได้จากน้องไกด์
-อยู่ไม่นิ่ง ขยับไปมาอยู่เรื่อยๆ
-ไม่ค่อยฟังคำสั่ง บอกให้หยุด น้องไม่ยอมหยุด บอกกลับไปนั่งที่เดิม น้องไม่ไป
-ขณะทำกิจกรรม อยากทำอีกเรื่อยๆ
-เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา แย่งคนอื่นทำกิจกรรม
-อยากเล่นกับคนอื่น
การพัฒนาพฤติกรรม
- เมื่อใดที่เด็กมีพฤติกรรมที่ดี เช่น นั่งอยู่กับที่ได้นาน ทำงานแล้วเสร็จ ควรให้คำชมเชยเสมอ
-ฝึกระเบียบวินัยให้เด็กไฮเปอร์ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเน้นกฎเกณฑ์ได้ทีละน้อยก่อน และค่อยขยายไปเรื่องอื่นที่มีความสำคัญรองลงมา
-อย่าให้เด็กเหนื่อยล้าเพราะ เด็กเหล่านี้มีความอดทนต่อความเครียดต่ำ อาจระเบิดอารมณ์ หรือการแสดงออกที่ควบคุมตนเองไม่ได้โดยง่าย
การเรียนรู้แบบ “Project Approach”
การสอนแบบโครงการ(Project Approach)
การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ “การสอนแบบโครงการ” ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา และ ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัยความหมายของโปรเจคแอพโพส (Project Approach) คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครู และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา ทั้งนี้หัวเรื่องที่นำมาสืบค้นมักจะมีความหมายต่อตัวเด็ก เช่น บ้าน รถยนต์ รถเมล์ เครื่องบิน โรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถบูรณาการเข้าในหลักสูตรปฐมวัยได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับครูและสถานศึกษาที่นำไปใช้ หรือบูรณาการเนื้อหาเกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งภาษา ในขณะทำโครงการได้อีกด้วย
นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการว่าเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ในหัวข้อที่ตนสนใจ ด้วยการบูรณาการวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิธีนี้จึงเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมาย รวมทั้งยังเน้นการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และยืดหยุ่นตามความสนใจ และความต้องการของเด็ก
ที่มาแนวคิด “Project Approach” เริ่มจากความเคลื่อนไหวของนักการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม (Progressive) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงศตวรรษที่ 19 – 20 จอห์น ดิวอี้ ได้เขียนบทความและหนังสือที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดความตระหนักในชุมชนร่วมกัน และได้นำโครงการเข้าไปใช้ในโรงเรียนทดลองที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1943 ลูซี่ สปราค มิทเชลล์ (Lucy Spraque Mitchell) ได้นำนักศึกษาของวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีท เมืองนิวยอร์ก ออกศึกษาสิ่งแวดล้อม และได้สอนครูให้รู้จักวิธีการใช้โครงการวิธีสอนที่พัฒนาโดยวิทยาลัยการศึกษาแบงก์สตรีทนี้ มีส่วนคล้ายคลึงอย่างมากกับการสอนการใช้โครงการวิธีการสอนที่แบบโครงการ ส่วนในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ครูโรงเรียนก่อนประถมศึกษาเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย ประเทศอิตาลี ได้ประสบความสำเร็จในการนำโครงการเข้าไปใช้กับเด็กปฐมวัย แต่ลักษณะโครงการส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางการเรียนรู้ภาษากราฟิก (เขียนภาพลายเส้น) และข้อมูลที่ขยายการเรียนของเด็กผ่านโครงการรวมทั้งบทบาทของครูและพ่อแม่ในงานโครงการ
การนำแนวคิดการสอนแบบโครงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา หรือการสอนแบบโครงการจะปรากฏกิจกรรม 5 ลักษณะในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งเสมือนขั้นตอนการสอนแบบโครงการกิจกรรมทั้ง 5 ลักษณะประกอบด้วย
1.การอภิปรายในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้
เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับ
เพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้น
ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน
และกัน
2. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม เป็นกระบวน
การที่สำคัญของการทำโครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจ
พาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบ
บริเวณโรงเรียนเช่น ร้านค้า ถนนหนทาง ป้ายสัญญาณ งาน
บริการต่าง ๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกที่แวดล้อม มีโอกาส
พบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ ซึ่ง
ถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถทบทวน
ประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่น่าสนใจ มีการอภิปรายแสดงความ
คิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้ง
แสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็ก
แต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้
รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น
ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทาง
คณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่าง ๆ
4.การสืบค้น งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูล
อย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อ
แม่ ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอก
โรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่
สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ
วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยาย
ส่องดูวัตถุต่าง ๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุด
ทำการค้นคว้า
5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนัง
หรือป้ายจัดแสดงงานของเด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด
ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น ครูสามารถให้เด็กใน
ชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยโดยจัดให้มีการ
อภิปราย หรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่า
เรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
อภิปราย หรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่า
เรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
- ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
- ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
- ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
ภาพบรรยากาศ
ความรู้ที่ได้รับ
- การเรียนเเบบ Project Approach
- การสังเกตพฤติกรรมเด็กเเละนำมาแก้ปัญหาให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเพื่อนๆได้
- การจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กเพื่อเก็บผลงานพัฒนาการของเด็ก
การนำไปใช้
จัดทำการเรียนเเบบProject Approach ให้เด็กทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างเหมาะสม เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็กปกติ ให้ได้เข้าทุกกิจกรรมที่เด็กเองสามารถเข้าได้
ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจฟังการอบรม หัดสังเกตพฤติกรรมของเด็กแบบสภาพจริง
เพื่อน : ตั้งใจฟังการอบรม มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดวาจาสุภาพ คอยให้คำปรึกษานักศึกษา
เพื่อน : ตั้งใจฟังการอบรม มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดวาจาสุภาพ คอยให้คำปรึกษานักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น